การจัดการความรู้กฎหมาย

งานประชาสัมพันธ์งานวิชาการกฎหมาย

ประจำเดือนมิถุนายน 2566

กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน

หนังสือกรมธนารักษ์ ด่วนที่สุด ที่ กค 0312/ว 40 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เรื่อง การชักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุญาตให้ติดตั้งเครื่องบริการอัตโนมัติในสถานที่ราชการซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ

ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://bit.ly/3CR4zFP

สรุปสาระสำคัญได้ว่า กรมธนารักษ์ได้กำหนดอัตราค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ สำหรับการจัดให้เช่าเพื่อติดตั้งเครื่องบริการในสถานที่ราชการซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ในอัตราเครื่องละ 1,000 บาทต่อเดือน โดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่า และค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่า รวมทั้งไม่ปรับปรุงอัตราค่าเช่า และไม่ถือว่าเป็นการจัดสวัสดิการเชิงธุรกิจในที่ราชพัสดุตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 และเพื่อให้เป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯเสือ จึงแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินการ ดังนี้

1. กรณีที่ส่วนราชการอนุญาตให้เอกชนติดตั้งเครื่องบริการ ให้เรียกเก็บค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุในอัตราเครื่องละ 1,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ การติดตั้งเครื่องบริการดังกล่าว ไม่รวมถึงกรณีการติดตั้งเครื่องฝาก – ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) หรือเครื่องบริการอื่น ๆ ของสถาบันการเงิน

2. ให้เอกชนติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแยกต่างหากและเป็นผู้ชำระค่าไฟฟ้าเอง

3. ให้นำส่งเงินค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ ในที่ราชพัสดุเป็นรายได้ของกรมธนารักษ์

ข้อมูล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาคภูมิ ไตรศิริวาณิชย์

ผู้รวบรวม นางสาวชุติมา มูลดับ

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

กฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ฎีกา คดีแพ่ง และอุทธรณ์คดีปกครอง

หนังสือ ที่ มท 0208.1/ 7. 1048

เรื่อง สั่งหนังสือแจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติในการอุทธรณ์ ฎีกา คดีแพ่ง และอุทธรณ์คดีปกครอง เพื่อให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ โดยให้ยกเลิกแนวทางปฏิบัติในการอุทธรณ์ ฎีกาคำพิพากษาของศาลในคดีแพ่งใดๆ ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0406.2/.. 23 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547

สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการอุทธรณ์ ฎีกาคดีแพ่งและอุทธรณ์คดีปกครอง

1. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการอุทธรณ์ ฎีกาคดีแพ่งในศาลยุติธรรม

1.1 คดีแพ่งที่มีจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่เกิน 10,000,000 บาท และศาลพิพากษาให้ส่วนราชการเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือพิพากษาให้ส่วนราชการชนะคดีไม่เต็มตามฟ้อง กรณีจะอุทธรณ์ ฎีกาหรือไม่ ให้อยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการเจ้าของคดีและพนักงานอัยการที่สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมาย โดยไม่ต้องส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณา ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงความเป็นธรรมและประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

ในกรณีที่ส่วนราชการเจ้าของคดีและพนักงานอัยการที่สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายมีความเห็นไม่ตรงกัน ให้พิจารณาว่า การอุทธรณ์ ฎีกา จะเป็นประโยชน์กับทางราชการและผลของคำพิพากษาจะใช้เป็นบรรทัดฐาน ให้ดำเนินการอุทธรณ์ ฎีกาต่อไป โดยไม่ต้องส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณา

1.2 คดีแฟงที่มีจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเกินกว่า 10,000,000 บาท และศาลพิพากษาให้ส่วนราชการเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือพิพากษาให้ส่วนราชการชนะคดีไม่หากส่วนราชการเจ้าของคดีและพนักงานอัยการที่สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายเห็นควรอุทธรณ์ ฎีกา ให้ส่วนราชการดำเนินการอุทธณ์ ฎีกา โดยไม่ต้องส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณา

ในกรณีที่ส่วนราชการเจ้าของคดีและพนักงานอัยการที่สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายเห็นตรงกันว่า คดีไม่ควรอุทธรณ์ มีกา ให้ดำเนินการอุทรรณ์ ฎีกา ไปก่อน เนื่องจากเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์สูง แล้วจึงส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาโดยเร็ว โดยให้ส่งเอกสารและแจ้งชัอเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาของกระทรวงการคลัง ดังนี้

1.2.1 สำเนาคำห้อง คำให้การ ประเด็นที่อุทธณ์ ฎีกา

1.2.2 สำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แล้วแต่กรณีนี

1.2.3 ความเห็นของส่วนราชการเจ้าของคดี

1.2.4 ความเห็นของพนักงานอัยการที่สำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมาย

ข้อมูล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาคภูมิ ไตรศิริวาณิชย์

ผู้รวบรวม นางสาวชุติมา มูลดับ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..